วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้งานอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
         เราอาจจะได้ความหมายของอินเตอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์  แต่โดยเนื้อแท้แล้วเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็น ทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากที่ต่อเชื่อมเข้าหากัน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   โดยใช้มาตรฐานการต่อเชื่อมเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า ทีซีพี/ไอพี” (TCP/IP)   เราจึงกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมถึงกันโดยใช้ทีซีพี/ไอพี
            ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า ไอที (IT: Information Technology)  หมายถึงความรู้ในการประมวลผล  จัดเก็บรวบรวมเรียกใช้และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์   เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับงานไอที  คือ    คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง เครือข่ายอินเตอร์เน็ต นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอทีอินเตอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการภายใน เวลาอันรวดเร็ว   อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นที่รวมทั้งบริการ และเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งใน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับบุคคลและองค์กร  จากปรัชญาของระบบเครือข่ายที่มุ่งหวังให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุดหนทางหนึ่งก็คือการเปิดบริการให้ผู้อื่นใช้งาน ร่วมด้วย อินเตอร์เน็ต จึงมีศูนย์ให้บริการข้อมูลและข่าวสารหลากชนิด  หากจะแยกประเภทของการให้บริการในอินเตอร์เน็ต แล้วสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
                1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-Mail)
                จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกย่อๆ ว่า E-Mail เป็นวิธีติดต่อสื่อสารกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยที่สามารถส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสารแบบมัลติมิเดียที่มีทั้งภาพและเสียง  ในการส่งผู้ที่ต้องการส่งและรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมี Domain name ที่แน่นอน
                2. การใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น Telnet,Remote Login:rlogin
               การให้บริการนี้เป็นประโยชน์ และประหยัดค่าใช้จ่าย การใช้โปรแกรม Telnet ทำให้สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไปโดยเสมือนอยู่ที่ หน้าเครื่องนั้นๆโดยตรง โปรแกรม Telnet อนุญาตให้สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้    เช่น โปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆ   ในการคำนวณ ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องอยู่บนโต๊ะ Pc  หรือ  (Work Station แบบปกติได้ต้องส่งโปรแกรมไปทำงานบนเครื่อง Super Computer โดยใช้โปรแกรม Telnet เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อง Super Computer

                3. การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol)

                การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล หรือ FTP และโปรแกรมต่างๆ ที่มีอยู่ในศูนย์บริการ  เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเครือข่ายหลายแห่งเปิดบริการสาธารณะให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถถ่ายโอนข้อมูล โดยไม่ต้องป้อนรหัสผ่านและถ่ายโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แฟ้มข้อมูลที่ถ่ายโอน มีทั้งข้อมูลทั่วไป ข่าวสารประจำวัน บทความ รวมถึงโปรแกรม
                4. บริการสืบค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย
                เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นเป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ไม่กี่ร้อยเครื่องต่อเชื่อมกันอยู่ขนาดของเครือข่าย จึงไม่ใหญ่เกินไป สำหรับการขนถ่ายแฟ้มเพื่อการถ่ายโอน    แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตขยายตัวขึ้นมากและมีผู้ใช้งานแทบทุกกลุ่ม การค้นหาแฟ้มข้อมูลจึงยุ่งยากขึ้นด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาระบบ ARCHIE อำนวยความสะดวกช่วยในการค้นหาแฟ้ม และฐานข้อมูลว่าอยู่ที่เครื่องใด เพื่อจะใช้ FTP  ขอถ่ายโอนได้   การบริการจะต้องใช้โปรแกรม Archine,Gopher,VERONICA และ  WAIS

                5. กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (Usenet User News Network)

                Usenet ช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเรื่องต่าง ๆ       เช่น การเสนอข้อคิดเห็น อภิปรายโต้ตอบตามกลุ่มย่อยที่เรียกว่า กลุ่มข่าว (News Group) โดยผู้ใช้เพียงแต่สั่งคำสั่ง RTIN ก็จะสามารถอ่านข่าว ที่ตนเองได้บอกรับ (Subscribe) ได้ทันที

                6. ระบบบริการสถานี (World Wide Web)

                                เพื่อส่งระบบ Multimedia ข้ามเครือข่ายเนื่องจากระบบสืบค้นข้อมูลแบบเดิมสามารถส่งได้เฉพาะข้อมูล อักษรและตัวเลข  แต่เนื่องจากการเชื่อมโยงข้อมูลแบบใหม่ ๆ   ที่เป็นข้อมูล Multimedia และการเชื่อมโยงของ Modem เป็นข้อมูลแบ Hypertext/Hypermedia      ซึ่งเชื่อมโยงแบบกราฟิกที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติโดยใช้โปรแกรม Lynx, Mosaic และ Netscape โดยที่โปรแกรมดังกล่าวสามารถทำงานโดยผ่าน Windows และระบบ Xwindows ของ Unix

                7. สนทนาทางเครือข่าย

                Talk เป็นบริการสนทนาทางเครือข่ายระหว่างผู้ใช้สองคนโดยไม่จำกัดว่าผู้ใช้ทั้งสองกำลังทำงานภายใน ระบบเดียวกัน หรือต่างระบบกัน   ผู้ใช้ทั้งสองสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดได้พร้อม ๆกัน ข้อความที่พิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ จะไปปรากฏบนหน้าจอของ  ผู้สนทนา   การสนทนาบนเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่งที่แพร่หลาย   คือ IRC (Internet Relay Chart) ซึ่งเป็นการสนทนาทางเครือข่ายเป็นกลุ่มได้พร้อมกันหลายคน

                8. ตรวจข้อมูลผู้ใช้

                เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันกำลังขยายตัวเป็นไปอย่างดีในที่ต่าง ๆ จะมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ  อินเตอร์เน็ตไม่มีฐานข้อมูลกลางเก็บรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมดนี้ไว้จึงไม่มีวิธีสำเร็จรูปแบบใดที่รับประกันการค้นหาผู้ที่เราต้องการ ติดต่อ ด้วย โปรแกรมเบื้องต้นใน Unix ที่ใช้ตรวจหาผู้ใช้ในระบบคือ  Finger

                9. กระดานข่าว BBS

                BBS หรือ Bulletin Board System เป็นบริการข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้ PC โดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยอยู่ก่อนภายในอินเตอร์เน็ต ก็มีศูนย์บริการหลายแห่งที่ให้บริการ BBS แบบเดียวกัน เราสามารถต่อเชื่อมไปหาศูนย์ BBS ได้โดยใช้โปรแกรม Telnet



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

    
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารถึงกันได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยประหยัดทรัพยากรและที่สำคัญอินเตอร์เน็ตคือคลังสมองอันยิ่งใหญ่หรือห้องสมุดโลกที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งความรู้นั้น
  
    
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต พอสรุปได้ดังนี้
1.    
ด้านการศึกษา (Tele Education) สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจาแหล่งศึกษาหรือผู้ที่สนใจจะลงทะเบียนเรียนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ ฯลฯ สามารถเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเราเรียกว่า การศึกษาทางไกล กลายเป็นทางเลือกใหม่ในการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการศึกษาผ่านทางอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.    
โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
    
การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
3.    
ด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศอินเตอร์เน็ตจะช่วยในการสื่อสารสืบค้นข้อมูล และใช้ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากรร่วมกันได้ เช่น การส่งข้อมูลประวัติของอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
4.    
ด้านธุรกิจ (E-Commerce) โดยเฉพาะธุรกิจได้มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นอันมาก ดังต่อไปนี้
      4.1    
ด้านการธนาคาร (E-Banking) ธนาคารได้จัดทำระบบออนไลน์บนเครือข่ายที่ช่วยให้สามารถสอบถามยอดเงินและโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว มีการติดต่อสื่อสาร และมีข้อมูลบนเว็บเพจของทุกธนาคาร
      4.2    
โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
      4.3    
การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
5.    
การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ อีเมล์ (E-mail : Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ประหยัด สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถพูดคุยกันได้เหมือนอยู่ใกล้กัน
6.    
การประชุมทางไกล (Tele Conference) เป็นการประชุมของบุคคลที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมซึ่งสื่อสารได้ทั้งตัวอักษร เสียงและภาพพร้อมกัน

    
ภัยอินเตอร์เน็ต
     
ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้คุณประโยชน์ก็ย่อมจะมีโทษในตัวมันเองสังคมมนุษย์ก็เช่นกันย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป อินเตอร์เน็ตถือได้ว่า เป็นสังคมมนุษย์หนึ่งจากเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางแทนที่จะเป็นคำพูด ท่าท่าง ฯลฯ แต่อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมของคนทั้งโลกที่ไร้พรมแดน (Globalization)
     
ไม่แบ่งชั้นวรรณะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นภัยแอบแผงอยู่มาก รวมทั้งคนเลวซึ่งได้แก่บรรดามิจฉาชีพ อาชญากรรม (แบบไฮเทค) ได้อาศัยอินเตอร์เน็ต เป้นที่แผงตัวและหากินบนความทุกข์ของผู้อื่น ขอเสนอมุมมองเรื่องราวอินเตอร์เน็ตในแง่ลบเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้เล่นเน็ตอยู่จะได้ระแวดระวังและไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรไฮเทคเหล่านี้
    
หลายคนคงทราบว่าในอินเตอร์เน็ตมีสิ่งยั่วยุกามารมณ์ที่ส่อไปในทางลามกอนาจารอยู่มาก ถึงแม้จะไม่มีผลเสียที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา ต้องยอมรับว่ากว่า 50 % ของผู้ชายที่เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในครั้งแรก ๆ มักจะไปท่องหาเว็บที่มีภาพนู้ด ภาพโป้ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นการใช้เครื่องที่บ้าน ที่มีลูกหลานกำลังเรียนรู้และพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไปเข้าเว็บไซต์เหล่านั้น โดยไม่รู้ตัว เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องเว็บจะมีการเก็บบันทึกหมายเลขที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL – address) เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นในครั้งต่อไป
    
ซึ่งหมายเลขที่อยู่นี้สามารถถูกเรียกกลับขึ้นมาใช้ได้ง่าย ๆ เด็ก ๆ อาจจะเผลอไปเรียกเข้าก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ทันที และอาจจะกลับไปดูซ้ำในครั้งต่อ ๆ ไป หากผู้ปกครองละเลยนาน ๆ เข้าภาพเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในความคิด ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเทศกับเพศตรงข้ามที่ส่อไปในทางที่ผิดและอาจเลยไปถึงกระทำความผิดอาญาได้เมื่อโตขึ้น ภัยประเภทนี้ผลเสียจึงเกิดขึ้นในทางอ้อมโดยจะตกอยู่กับเด็กซึ่งเป็นลูกหลานและครอบครัว
  
    
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
    
คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระมีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANET)
    
โครงการอาร์พาเน็ตอยู่ในความควบคุมดูแลของอาร์พา (Advanced Research Projects Agency หรือ ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนสนับสนุน แก่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)
    
โครงการอาร์พาเน็ต ได้ริเริ่มขึ้น โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา  มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฏิบัติการ ที่แตกต่างกัน
    
ต่อมาเครือข่ายอาร์พาเน็ตได้รับความนิยมอย่างมาก มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย
    
ในประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในลักษณะของการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัย สงขานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยความร่วมมือระหว่างไทย และออสเตรเลียซึ่งการเชื่อมโยงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์
    
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต (UUNET) ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่นสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    
ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET) ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ต ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือ สำนักวิทยาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    
ในปีเดียวศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center หรือ NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ
    
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่อเพื่อใช้ระบบอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการแก่ผู้ใช้ ผู้ใช้ยังสามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์กรที่เรียกว่าผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต  Internet service provider (ISP) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 18 ราย (ข้อมูลปัจจุบันศึกษาได้จาก http://ntl.nectec.or.th/internet/index/html)
  
    
การแทนชื่อที่อยู่อินเตอร์เน็ต
1.    
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง (Direct internet access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่เป็นเกดเวย์ ในการเชื่อมต่อ สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน หรือผู้ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรงเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายในกาติดตั้งค่อนข้างสูง แต่มีข้อดีคือการรับ-ส่งข้อมูล จะสามารถทำได้โดยตรงทำให้รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ
2.    
การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dial-up access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้านหรือที่ทำงานทั่วไปโดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่าโมเด็ม เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ เช่น ISP แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตเสมือนกับการต่อเชื่อมโดยตรง ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้คือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไป ยังต่างประเทศ

    
เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web หรือ www)
    
ในช่วงแรก ๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปรโตคอล telnet และใช้ ftp (file transfer protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 Tim Berners – Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ที่ประเทศสวัติเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเตอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้นและช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่าเว็บเพจ ที่สามารถเชื่อมโยง ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์
    
ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่งที่อยู่ใน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว เครือข่ายของเอกสารเหล่านี้ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอข้อมูลนี้บนอินเตอร์เน็ตรู้จักโดยทั่วไปว่า World Wide Web (www) หรือ W3 หรือ Web และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจเรียกว่าเว็บไซต์ (Web Site) 
    เว็บเพจ (Web Pages) คือ เอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กส์ หรือไฮเปอร์มีเดียซึ่งไฮเปอร์มีเดียเป็นสื่อประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ ภาพกราฟฟิส ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงการสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hypertext Markup Language หรือ HTML ซึ่งประกอบด้วยชุดของคำสั่งที่เรียกว่าแท็ก หรือมาร์กอัป
  
    
ลักษณะของภาษา HTML
 




การใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
การใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet) เบื้องต้น

ความรู้พื้นฐานของการใช้งาน อินเตอร์เน็ต (Internet)นั้น ประกอบด้วยการใช้งานด้านการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล เป็นหลัก ในที่นี้ จะกล่าวถึงการใช้งาน Browser ในการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล โดยการค้นหาข้อมูล จะกล่าวถึงการใช้งาน Search Engine และการสื่อสารข้อมูลจะเป็นลักษณะของการสื่อสารข้อมูลด้วย E-Mail

Browser คืออะไร
            Browser คือ โปรแกรมระบบงานที่ใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรต่าง ๆ ใน Internet โดย Browser นั้น จะให้ผู้ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่สนใจรายละเอียดทางเทคนิคของการเชื่อมต่อระหว่างจุด หรือวิธีการเฉพาะที่จะเข้าไปใช้จุดเหล่านั้น และนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความ ( Text ) , ภาพ ( Graphics ) , เสียง ( Sound ) หรือภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ในเอกสารบนจอภาพ

การใช้งาน Internet Explorer
            Internet Explorer (IE)เป็น Browser ซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมีมาให้พร้อมกับ Microsoft Windows ตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป โดยที่หากเป็น Windows98 ก็จะเป็น IE4.0 , Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 , Windows Me ก็จะเป็น IE5.5 , สุดท้ายถ้าเป็น Windows XP ก็จะเป็น IE6.0 ดังนั้น หากคิดจะใช้อินเตอร์เน็ตด้วย IE แล้ว จำเป็นต้องทราบเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้นในการใช้ IE ด้วย

รู้จักกับเมนู ปุ่ม และคำสั่งในเบื้องต้น
มาดูหน้าที่ของปุ่มต่าง ๆ กันเลย
ปุ่ม Back ใช้สำหรับย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมาแล้ว
ปุ่ม Forward ใช้สำหรับเปลี่ยนไปหน้าต่อไป (หลังจากที่ย้อนกลับมา)
ปุ่ม Stop ใช้สำหรับหยุดการโหลดข้อมูลในหน้าเว็บเพจนั้น
ปุ่ม Refresh ใช้สำหรับการเรียกโหลดข้อมูลหน้าเว็บเพจใหม่อีกครั้ง
ปุ่ม Home ใช้สำหรับกลับไปหน้าแรกหรือกลับไปที่ URL ที่ตั้งไว้ให้เป็นหน้าแรก
ปุ่ม Search ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์
ปุ่ม Favorites ใช้สำหรับเลือกเว็บไซต์จาก Favorites หรือ Book Mark
ปุ่ม History ใช้สำหรับการย้อนกลับไปดูเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปดูมาแล้ว
ปุ่ม Mail ใช้สำหรับการ รับ-ส่ง อีเมล์
ปุ่ม Print ใช้สำหรับการพิมพ์หน้าเว็บออกเครื่องพิมพ์
ปุ่ม Edit ใช้สำหรับการแก้ไขหน้าเว็บเพจนั้น ๆ


เทคนิคการใช้งาน Internet Explorer
   การกดปุ่ม เมาส์ขวาเพื่อเรียกเมนูใช้งานอย่างรวดเร็ว เช่นการเก็บรูปภาพ การเปิดหน้าต่างใหม่ หรืออื่น ๆ
   การกดปุ่ม ALT + ปุ่มลูกศร ซ้าย หรือ ขวา จะเป็นการเรียกใช้เมนู Back หรือ Forward ได้เช่นกัน
   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา
   การค้นหาข้อความในหน้า Web Page สามารถใช้เมนู Edit และ Find (on This Page) หรือกด Ctrl + F ได้
   หากพบภาพที่ถูกใจ สามารถตั้งให้เป็น Wall Paper ได้ทันทีโดยกดปุ่มเมาส์ขวา เลือกที่ Set as wallpaper
   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา
การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ Search Engine
Search Engine คือ โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวค้นหาข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่ง Search Engine ที่นิยมใช้นั้นมีด้วยกันหลายตัวด้วยกัน เช่น Google (www.google.co.th),Dogpile (www.dogpile.com)
ALLTHEWEB ( www.alltheweb.com ) Yahoo (www.yohoo.com) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะอธิบายวิธีการใช้งาน Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีความนิยมที่สุดในขณะนี้
หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google
การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’
หรือ ค้นหาโดย Google” จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
(วิธีทำ ในเอกสารวิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูล)

การรับส่ง ข้อมูลผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E – Mail ( Electronics Mail )
เป็นการรับส่งจดหมายด้วยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีลักษณะคล้ายกับการรับส่งจดหมายแบบปกติ แต่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก สามารถเขียนจดหมายถึงผู้รับได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต





ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
ความหมายของระบบอินเทอร์เน็ต
         อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งหมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย กล่าวคือ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกัน โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือเรียกว่า โปรโตรคอล (Protocol)
รูปที่ อินเทอร์เน็ต (Internet)
ประวัติอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต (Internet) กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อ ยู.เอส. ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลายหรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมาชื่อ ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงาทหาร องค์กร รัฐบาลและสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก
รูปที่ 2  เครือข่าย ARPAnet
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
          ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนอีเมล์เป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใน โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยง โดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต (URL) Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย การใช้งาน อินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี
(UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
บริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet Service)
          บริการบนอินเทอร์เน็ต หมายถึง สิ่งที่เราสามารถกระทำได้เมื่อเราเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีมากมายหลายอย่าง เช่น

1. World Wide Web (www) หรือเครือข่ายใยแมงมุม
           เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ที่มีลักษณะของการแสดงผลในรูปแบบ กราฟิกสวยงาม เต็มไปด้วยสีสัน เพียบพร้อมทั้งภาพและเสียงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับ การศึกษาในโลกไร้พรมแดน เหตุที่เรียกว่า ใยแมงมุม ก็ด้วยความสามารถในการ เชื่อมโยงข้อมูล จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ ด้วยการคลิกเมาส์ที่จุดเชื่อมโยง เพียงครั้งเดียว ทำให้สามารถผูกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เข้าด้วยกันได้สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า
รูปที่ 3  World Wide Web (www) หรือเครือข่ายใยแมงมุม
2. E-mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
           เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมาก สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้รับอาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคน โดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับ เป็นผู้ใช้ที่อยู่ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้ สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันได้ทั่วโลกมีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้

รูปที่ 4  E-mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การสนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
        ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกัน แต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็ว บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกันหรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger
รูปที่ 5  โปรแกรม MSN
4. กระดานข่าว (Web Board)
          บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจเพลงร็อค ฯลฯ

รูปที่ 6  กระดานข่าว
โทษของอินเทอร์เน็ต
1. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
           นักจิตวิทยา ชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมาก พบว่าผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
           • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ตแม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
           • ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
           • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
           • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง
           • ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหา
           • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
           • เสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ในครอบครัว
           • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวน กระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
           • ใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตั้งใจไว้
2. อนาจารผิดศีลธรรม
           เรื่องของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก แต่ในปัจจุบัน ศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี ( IT WATCH ) และมูลนิธิกระจกเงา ได้ประมวลสถานการณ์ภัยคุกคามเทคโนโลยี จาก คลิปหลุดและคลิปแอบถ่าย Hi5 Chat ซึ่งอาจเป็นการนำไปสู่การหลอกลวงและอาชญากรรมได้
3. เด็กติดเกม
           ในการเสพเกมออนไลน์ ข้อมูลจาก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสังคมไทย พบว่าเด็กเข้าไปใช้บริการในร้านเกมคาเฟ่ 90% ไปเพื่อเล่นเกม และเน้นเกมรุนแรง การต่อสู่ ซึ่งนำไปสู่การเลียนแบบ และอาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้

รูปที่ 7  เด็กติดเกม
4. ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเทอร์เน็ตและระเบิดเวลา
           ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอย
หน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
         ม้าโทรจัน : โปรแกรมนี้จะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม
          หนอนอินเตอร์เน็ต : โปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง

        ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการ
โจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้น ๆ มาถึง
รูปที่ 8  ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเทอร์เน็ตและระเบิดเวลา





ความรู้เบื้องต้นเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เนตคืออะไร

อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ รวมกันเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั่วโลก
อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ
อินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
, ความคิดเห็น
3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย
Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์
, สวนสัตว์ เป็นต้น

บริการต่าง ๆ ของอินเทอร์เนต
1. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเทอร์เนต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้นมี หลายโปรแกรมด้วยกันแล้วแต่จะเลือก ใช้ตาม ความ ชอบหรือความถนัด โปรแกรมที่พูดถึงก็เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Micorsoft Explorer และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
2. World Wide Web (WWW)   เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่ฮิตสุดบนอินเทอร์เนต ข้อมูลนี้จะอยู่ในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียงแต่ท่านเลือกกดที่คำที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก) Uniform Resource Locator (URL) คือที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ homepage หรือ URL ก่อน ตัวอย่างที่อยู่ของ homepage ของกลุ่มเซนต์จอห์นคือ ttp://www.stjohn.ac.th ส่วนโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าสู่ข้อมูลที่อยู่บน WWW ได้ คือ Netscape และ Microsoft Explorer เป็นต้น
3. FTP (File Transfer Protocol)    คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง ในเครือข่ายอินเทอร์เนตถ้าเครื่องนั้นๆต่อเข้ากับระบบที่เป็นอินเทอร์เนตก็สามารถโอนย้ายข้อมูลกันได้เครื่อง คอมพิวเตอร์บางที่นั้นจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็น Freeware หรือ Shareware เและเปิดให้เข้าไปโอนย้านมาได้ฟรี โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น
 4.Telnet  เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
5. Usenet / News groups   เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมือเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ
หากจะใช้ Internet ควรต้องมีอะไรบ้าง ?
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เนต การต่อเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนั้น ลักษณะการต่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของสายที่ต่อเชื่อม
2. หากท่านต้องการใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่บ้าน โดยการต่อคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้เข้าสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ท่านต้องมี Modem (โมเด็ม) หรือตัวแปลงสัญญาณ โมเด็มจะเป็นตัวช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านรับข้อมูลจากอินเทอร์เนต ได้ความเร็วของ Modem ควรจะเป็นอย่างต่ำ 14.1 kbps หรือมากกว่านั้น (kilobyte per second = อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล)
3. หากท่านใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่ทำงาน มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สำหรับหน่วยงานใหญ่ ๆ มักจะมีการต่อเชื่อมเข้ากับระบบอินเทอร์เนตด้วยการใช้สายเช่า ซึ่งมีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงแทนโมเด็ม และจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น หารกจะใช้ E-Mail (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปแกรมที่จะใช้ได้ เช่น Pine , Eudora , Netscape Mail, Microsoft Explorer แต่ถ้าจะใช้ WWW ก็ต้องใช้โปรแกรม Netscape เป็นต้น
4. Internet Account ท่านต้องเปิดบัญชีอินเทอร์เนต เหมือนกับต้องจดทะเบียนมีชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เนต เพื่อที่ว่าเวลาติดต่อสื่อสารกับใครบนอินเทอร์เนต จะได้มีข้อมูลส่งกลับมาหาท่านได้ถูกที่
มารยาทในการใช้อินเตอร์เนต (Netiguette)
การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
ไม่มีความลับใด ๆ บน
Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
โทษของอินเทอเน็ต
 โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ
?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
1. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
2. มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
3. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
4. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
5. ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
6. หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
7. การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
8. มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
9. ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
 
 สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
 เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่
WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้  


การใช้อินเตอร์เนตเบื้องต้น
          การใช้โปรแกรมค้นดู (Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครื่องอื่นมาแสดงผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรางานในระบบอินเตอร์เนต  โปรแกรมที่นิยมใช้คือ โปรแกรมอินเตอร์เนต เอกพลอเรอร์ (Internet Explorer)  มีเครื่องมือที่สำคัญคือ
ใช้เพื่อต้องการย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมา
ใช้เพื่อต้องการข้อมูลหน้าต่อไป
หยุดการติดต่อกับเว็บเพจที่เปิดอยู่
เรียกข้อมูลซ้ำกรณีที่การสื่อสารมีปัญหา
กลับไปเว็บไซต์ที่เปิดครั้งแรก
การค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ
เก็บเว็บไซต์ที่ชอบไว้  สามารถเรียกใช้ได้ทันที
ใช้ในการดูหนัง ฟังเพลงจากอินเตอร์เนต
เก็บข้อมูลที่เคยเข้าไปใช้บริการ
การสั่งพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
สำหรับพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ
คลิกเพื่อต้องการเข้าเว็บไซต์ที่ต้องการ

           การเข้าเว็บไซต์
                การใช้งานโปรแกรมค้นดูสำหรับเปิดหน้าเว็บเพจ   เราต้องกรอกตำแหน่งหรือชื่อของเว็บไซต์ในช่อง     โดยพิมพ์ WWW.   ตามด้วยชื่อ   แล้วกดปุ่ม Enter   หรือปุ่ม    รอสักครู่โปรแกรมจะค้นหาข้อมูลของเว็บไซต์นั้นมาแสดงให้เราเห็น เช่น  เราต้องการเข้าดูข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีชื่อเว็บไซต์ว่า www.obec.go.th การเข้าสู่เว็บไซต์มีขั้นตอนดังนี้
               1. เปิดโปรแกรม  Internet Explorer 
               2. พิมพ์  www.obec.go.th  ในช่อง Address  แล้วกด  Enter
               3. โปรแกรมจะดึงข้อมูลของเว็บไซต์ในหน้าแรกมาแสดงที่จอคอมพิวเตอร์ทันที


               จากนั้นก็สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เนื่องจากเว็บไซต์มีหลายเว็บเพจ  การจะเข้าไปยังหน้าอื่นๆ ต้องใช้เมาส์คลิกที่ชื่อของข้อความหรือเรื่องที่ต้องการค้นหา ให้สังเกตว่าตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือแสดงว่า สามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดได้
           การใช้เครือข่ายอินเตอร์เนตสืบค้นข้อมูล
                บนเครือข่ายอินเตอร์เนตมีข้อมูลอยู่อย่างมากมาย  มีหลายประเภท  ในการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีทั่วๆ ไปจะทำได้ช้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตจึงมีโปรแกรมช่วยค้นหาข้อมูล ซึ่งจะอยู่ในเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Site) ในเว็บไซต์เหล่านี้จะจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                1. โปรแกรมค้นหา (Search Engine)  เป็นการค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ  เหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง  เช่น Yahoo, Lycos, Google ฯลฯ
                2. สารบบค้นหา (Search Directory)  เป็นเว็บไซต์ที่ค้นหาข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่แบบกว้าง ๆ เช่น Yahoo, Sanook ฯลฯ
          การบันทึกข้อมูลจากเว็บเพจ
               ในการสืบค้นข้อมูลในระบบอินเตอร์เนตมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลโดยการบันทึกลงฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสเก็ต  มีวิธีการทำดังต่อไปนี้
                  1. เข้าโปรแกรม  Internet Explorer  และเข้าเว็บไซต์ที่ต้องการ
                  2. คลิกเมนู File  จะมีกรอบคำสั่งแสดงออกมา


                  3. เลือกคำสั่ง  Save as  จะมีกรอบโต้ตอบแสดงออกมา
                  4. เลือก  Drive  ที่ต้องการจะจัดเก็บข้อมูลจากเว็บเพจ ที่ช่อง Save in
                  5. พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลในช่อง   File name
                  6. กดปุ่ม   Save
          การสั่งพิมพ์ข้อมูลจากอินเตอร์เนต
               เมื่อค้นพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเว็บไซต์  เราสามารถสั่งพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้ทันที  โดยคลิกที่สัญรูป (Icon) ของเครื่องพิมพ์    มีขั้นตอนดังนี้
                   1. ที่เมนู  File   และเลือกคำสั่ง  Print
                   2. จะแสดงหน้าต่างของการพิมพ์   ของเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งไว้
                   3. เลือกหน้าที่จะพิมพ์        
                   4. คลิกปุ่ม  OK




การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น
ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมกันแพร่หลายและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆมากมายมหาศาล แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้และเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะอยู่ไกลกันเพียงใด ด้วยการส่งอีเมล์ ส่งการ์ดอวยพรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พุดคุยสนทนา หรือสื่อสารผ่านภาพและเสียง เป็นต้น แหล่งรวมโปรแกรมใช้งานและเกมต่างๆ ซึ่งมีมากมายให้คุณได้ดาวน์โหลดมาใช้ แหล่งรวมความบันเทิงทุกรูปแบบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แหล่งจำจ่ายใช้สอยสินค่าต่างๆ เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าโดยจัดตั้งร้านค้าเป็นเว็บเพจ ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกสินค้าต่างๆได้จากเว็บไซต์ที่ได้จัดเตรียมไว้ และสามารถสั่งซื้อสินค้าพร้อมทั้งจ่ายเงินทางเว็บไซต์  ท่านสามารถเรียนรู้เรื่อง
·         โครงสร้างสตักเจอร์ (Structure)
·         วิธีเรียกใช้งาน Internet Explorer ( IE )
·         ส่วนประกอบในหน้าจอของ Internet Explorer
·         แนะนำปุ่มต่างๆ
·         ท่องโลก  www
·         ค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ Search
·         การอัพโหลดข้อมูล
·         การรับ ส่งอีเมล์
·         การใช้อีเมล์
·         การสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต (Chat)

การใช้งานอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

การใช้งานอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

ระบบ Internet
ระบบ Internet คือระบบที่เชื่อมต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ ทั่วโลก เข้ามาเป็นระบบเดียวกัน จุดประสงค์หลักของระบบ Internet เพื่อที่เราจะนำเอาทรัพยากรหรือ ข้อมูลมาใช้งานร่วมกันได้ การใช้งานระบบ Internet มีได้หลายทางแต่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การใช้งานผ่าน Browser  เพื่อเรียกดูข้อมูลผ่านทาง Web Site โปรแกรม Browser ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม เช่น Internet  Explorer , Opera ในที่นี้จะบอกส่วนประกอบของ  Internet Explorer
โปรแกรม Internet Explorer จะมีส่วนประกอบคือ
1 ) Tool Bar เป็นส่วนที่แสดงเครื่องมือในการสั่งการโปรแกรม Internet Explorer เช่นการส่วนของใส่ ที่อยู่ของ  Web Site ที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม หรือในส่วนของควบคุมการ refresh การสั่งหยุด การสั่งเดินหน้าถอยหลังไปยังหน้า Home Page
2) Address Bar จะใช้สำหรับใส่ ที่อยู่ (Address) ของ Website
3 ) ส่วนที่แสดงผลข้อมูล เป็นส่วนที่จะแสดง ข้อมูลของ Web Site ที่เราเข้าไปเยี่ยมชม
4 ) Status Bar เป็นส่วนที่แสดงสถานะของโปรแกรม เช่นสถานะ การเชื่อมต่อ
การเริ่มต้นการใช้งาน โดยเมื่อคลิกสัญลักษณ์ของโปรแกรมก็จะรากฎหน้าต่าง เป็นดังรูปข้างต้น ซึ่งเราต้องทราบที่อยู่ของ Web Site ที่เราต้องเข้าไปใช้งาน เช่น http://www.th.msn.com/  เป็นที่อยู่ของ Web Site ลงในช่อง Address Bar แล้วกดปุ่ม Enter ก็จะเปิดหน้า Web Site ขึ้นมา และในหน้าของ Web Site นั้นถ้ามีการเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ( link ) เมื่อเรานำเอาเมาส์ไปวางเหนือข้อความนั้นก็จะปรากฏเป็นรูปมือ ซึ่งถ้าเราคลิกปุ่มซ้ายของ เมาส์ก็จะเป็นการเปิดหน้านั้นขึ้นมา
                ที่อยู่ของแต่ละ Web Site สามารถบอกความหมาย ได้ โดยถ้า ชื่อของ Web Site ลงท้ายด้วยคำว่า com , co จะเป็นเป็น Web Site ของบริษัท  ลงท้ายด้วยคำว่า gov จะเป็นเป็น Web Site ของหน่วยงานของรัฐ  ลงท้ายด้วยคำว่า ac จะเป็นเป็น Web Site ของสถาบันการศึกษา ลงท้ายด้วยคำว่า org จะเป็นเป็น Web Site ขององค์กรต่างๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถบอกถึงที่ตั้งของ Web Site ได้อีกด้วยคือถ้าต่อท้ายด้วยคำว่า th จะเป็นเป็น Web Site ที่อยู่ในประเทศไทย ได้อีกด้วยคือถ้าต่อท้ายด้วยคำว่า jp จะเป็นเป็น Web Site ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น

การทำงานของระบบ e-mail
นั้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับระบบการรับส่งจดหมายในปัจจุบันจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก แต่จะมีข้อดีกว่า คือสามารถรับส่งได้ตลอดเวลา, มีความรวดเร็ว, ส่งได้ถูกต้องแน่นอนถ้าไม่ใส่ที่อยู่ผิด
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบริการ e-mail
reply เป็นการตอบจดหมาย
forward เป็นการส่งจดหมายที่ได้รับต่อไปยังบุคคลอื่น
attachment เป็นการแนบไฟล์เพื่อส่งไปพร้อมกับ e-mail
inbox เป็นที่เก็บจดหมายที่เข้ามา ทั้งที่อ่านแล้วและยังไม่ได้อ่าน
trash เป็นถังขยะเก็บจดหมายที่ไม่ต้องการ
compose เป็นการสร้างจดหมายใหม่เพื่อเขียน
spam mail เป็นจดหมายที่สร้างความรำคาญ มักจะเป็นโฆษณา
junk mail เหมือนกับ spam
cc ย่อมาจาก carbon copy เป็นลักษณะการส่งจดหมาย สำเนาเรียน
bcc ย่อมาจาก background carbon copy เป็นการส่งจดหมายแบบสำเนาเรียนแต่ชื่อจะไม่ปรากฏให้เห็นในจดหมาย
to เป็นชื่อ e-mail ที่ต้องการส่งไปหา
subject เป็นหัวเรื่องของจดหมาย

บริการ FTP
File Transfer Protocol(FTP) คือบริการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบเครือข่าย การทำงานจะต้องอาศัยเครื่อง Server หรือเครื่องผู้ให้บริการและเครื่อง Client หรือเครื่องลูกข่ายที่ขอใช้บริการส่งหรือรับไฟล์ การใช้ FTP สามารถทำได้ในหลาย ๆ รูปแบบเช่น เป็นการแชร์ไฟล์ให้เพื่อน, ทำเป็นอัลบั้มภาพส่วนตัว, ดาวน์โหลดโปรแกรม, ทำ website, หรือจะส่งรูปภาพเข้าประกวดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ได้ สามารถเรียกใช้งาน FTP ได้ผ่านทางโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมดังนี้ WS-FTP, Cute FTP, FTP, ฯลฯ

บริการ IRC
คือบริการพูดคุยภายในห้องสนทนาทั้งแบบกลุ่มและแบบตัวต่อตัวโดยใช้การพิมพ์โต้ตอบกัน IRC เป็นคำย่อของ Internet Relay Chat ภายในจะมีกลุ่มสนทนาเรื่องต่าง ๆ มากมายทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ โปรแกรมที่ใช้เรียกเข้าสู่การ Chat ที่ได้รับความนิยมก็มีหลายโปรแกรมด้วยกันทั้ง Pirch, MS-chat ฯลฯ แต่ละโปรแกรมก็จะมีคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

บริการ www (World Wide Web)
เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อผู้ใช้ด้วย Hypertext ซึ่งเป็นเอกสารที่สามารถนำเสนอ ตัวอักษร, รูปภาพ, วีดีโอ, เสียง ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงเอกสาร หลาย ๆ เอกสารเข้าด้วยกันด้วย Hyperlink การให้บริการจะให้บริการผ่าน โปรแกรมที่เรียกว่า Web browser ในระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะให้โปรแกรม Web browser มาด้วยเช่น ระบบ windows จะให้โปรแกรม Internet Explorer(IE) มาด้วยแต่ก็มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนโปรแกรม IE ได้เช่น โปรแกรม Netscape, Opera ฯลฯ การเรียกใช้โปรแกรม IE สามารถทำได้โดยเรียกใช้ที่ icon
การเรียกใช้บริการอื่น ๆ ผ่าน www
โดยปกติการให้บริการแบบ www นั้นจะเน้นให้บริการข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันโดยใช้เอกสาร Hypertext หรือที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคของนักคอมพิวเตอร์จึงได้ประยุกต์การให้บริการต่าง ๆ จากข้างต้น ให้มาอยู่ภายใต้บริการ www อีกทีโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นใดอีก เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสะดวกและคุ้นเคยเช่น บริการ           e-mail ที่ hotmail.com หรือ thaimail.com, บริการ IRC ที่ website pantip.com หรือ hunsa.com

บริการทางด้านสารสนเทศอื่น ๆ

การจะค้นหาสิ่งที่เป็นความรู้ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอันกว้างใหญ่นั้นมีวิธีที่จะค้นพบได้ ด้วยเครื่องมือและบริการที่เตรียมไว้นอกจากข้างต้นแล้วยังมีอีก 2 บริการที่ค่อนข้างจะช่วยเหลือมากก็คือ Web board และ Search Engine ที่มีรูปแบบบริการที่ให้บริการผ่าน www เช่นกันโดยบริการนี้จะมีอยู่ทั่ว ๆ ไปตาม website ที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหา

บริการ Web board
ก่อนที่อินเตอร์เน็ตจะเกิดขึ้นและมีการพัฒนา Web board ขึ้นมานั้น จะมีรูปแบบบริการที่เรียกว่า Bulletin board ให้บริการโดย BBS(Bulletin Board System) ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ ภายในกลุ่มการให้บริการจะอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์กับโมเด็มและโทรศัพท์ ถ้าหากติดต่อเข้าไปที่ BBS ใดก็จะเหมือนกับต่อเข้าไปที่ Website แห่งหนึ่งทีเดียวแต่มีข้อเสียคือ มักจะจำกัดเวลาการใช้งาน เนื่องจากจะต้องใช้สายโทรศัพท์เส้นเดียวกันนั้นให้บริการแก่สมาชิกรายอื่น ๆ ด้วยทำให้ต้องแบ่งเวลาการใช้งานกันระหว่างสมาชิกด้วยกัน หลังจากที่มี Internet ระบบ BBS นั้นก็เริ่มที่จะลดบทบาทลงเนื่องจากรูปแบบการให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้ สะดวกกว่าและไม่มีการจำกัดเวลา โดยรูปแบบจะไม่ใช่บริการแบบ Bulletin Board แล้วแต่จะเปลี่ยนเป็นการให้บริการข่าวสารแบบ USENET ที่มีบริการข่าวภายในเรียกว่า NEWSGROUP หัวข้อข่าวที่มักจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนั้นมีทั้ง เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ไม่มีได้ไง), เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม, เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ บริการ USENET เคยได้รับความนิยมมากเนื่องจากจะมีข่าวต่าง ๆ และความคิดเห็นที่น่าสนใจมากมายให้เลือกหาอ่านกัน แม้การให้บริการจะเป็นเพียงตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่นานระบบกระดานข่าวที่มีรูปภาพและการใช้งานที่สะดวกกว่าที่เรียกว่า Webboard ก็เข้ามาแทนที่ แต่เนื้อหาและหัวข้อที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันภายใน Webboard มักจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากต้องการอ่านเกี่ยวกับเนื้อหาอื่น ๆ มักจะต้องหาจาก Website ที่นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวเฉพาะเรื่อง